หลักสูตร IT03

การสร้างแอนิเมชันสามมิติด้วยโปรแกรม Autodesk Maya 2017

วิทยากร

ปริวัฒน์ พิสิษฐพงษ์

อาจารย์ปริวัฒน์ พิสิษฐพงษ์

 

กลุ่มเป้าหมาย


เปิดกว้างสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจทั่วไปที่มีความสนใจ

ค่าลงทะเบียน – 3,000 บาท


  • ระยะเวลาการอบรม จำนวน 3 วัน
  • ค่าลงทะเบียนท่านละ 3,000 บาท ครอบคลุมถึง
    • อาหารกลางวัน 3 มื้อ
    • อาหารว่าง 6 มื้อ
    • คอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับอบรม

สถานที่ฝึกอบรม


คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ต.ขามเรียง อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม 44150

ตารางการอบรม


วันที่ 1 ช่วงเช้า

  • พื้นฐานเกี่ยวกับงานสามมิติ
    • คอมพิวเตอร์กราฟิก
    • กราฟิก 2 มิติ และ 3 มิติ 
    • ภาพเคลื่อนไหว หรือ แอนิเมชัน (Animation) 
    • กระบวนการและบุคลากรต่าง ๆ การทำแอนิเมชัน
    • คำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน 3D
  • การเตรียมตัวก่อนปั้นโมเดลสามมิติ
    • เครื่องมือสำหรับนักปั้นโมเดลสามมิติ
  • พื้นฐานการใช้งานโปรแกรม Maya
    • การตั้งค่าโปรเจค
    • การใช้มุมกล้องภายในโปรแกรม Maya
    • การใช้เครื่องมือพื้นฐานเพื่อจัดการกับวัตถุ
    • การปรับแกนหลักในการอ้างอิงวัตถุ (Editing Pivot)
    • การปรับแต่งหน้าต่างภายในโปรแกรม
    • สามารถใช้คำสั่งเร่งด่วน (Hotbox)
    • โหมดของวัตถุต่าง ๆ ที่แสดงบน Viewport
    • การปรับแต่งวัตถุรูปทรงพื้นฐาน
    • พารามิเตอร์หลักของวัตถุสามมิติ
    • การจัดการรายละเอียดต่าง ๆ ของวัตถุ 3 มิติ (Editing Mode in 3D Object)
    • การจัดการวัตถุภายใน Scene
    • การดึงเครื่องมือที่ใช้งานเป็นประจำมาใส่ไว้ที่ Shelf

วันที่ 1 ช่วงบ่าย

  • เริ่มต้นกับการสร้างวัตถุ 3 มิติ ใน Maya
    • การสร้างวัตถุสามมิติแบบ Polygons
    • การจัดการวัตถุสามมิติแบบโพลิกอน
    • การปั้นโมเดล 3 มิติ จากวัตถุรูปทรงพื้นฐาน
    • การปั้นโมเดลคน (Human Modeling)
    • การกาง (UV) เพื่อทำให้พื้นผิวของวัตถุ 3 มิติอยู่ในแนวระนาบ
    • การกาง UV เบื้องต้น
    • การทำพื้นผิวโมเดล (Texturing)

วันที่ 2 ช่วงเช้า

  • การใส่โครงกระดูก (Rigging) ให้กับวัตถุสามมิติ
    • ทำไมถึงต้องมีการ Rigging
    • สิ่งที่ควรทราบในการใส่โครงกระดูกให้กับวัตถุสามมิติ
    • การเตรียมตัวละครก่อนการ Rigging
    • การทำ Blend Shape ให้กับตัวละครสามมิติ
    • การใส่โครงกระดูกให้กับลำตัวด้วย HumanIK
    • การแก้ไขค่า Weight ของวัตถุสามมิติหลังจากเชื่อมต่อเข้ากับโครงกระดูก

วันที่ 2 ช่วงบ่าย

  • การทำแอนิเมชัน
    • กฎการทำแอนิเมชันทั้ง 12 ข้อ
    • การตั้งค่าแอนิเมชันภายในโปรแกรม Maya
    • พื้นฐานการทำแอนิเมชัน

วันที่ 3 ช่วงเช้า

  • การจัดแสงและเรนเดอร์
    • แหล่งกำเนิดแสงต่าง ๆ ภายในโปรแกรม Maya
    • พารามิเตอร์พื้นฐานของแหล่งกำเนิดแสงแต่ละชนิด
    • เงาภายในโปรแกรม Maya
    • พื้นฐานการใช้งานเรนเดอร์เอนจิ้น

วันที่ 3 ช่วงบ่าย

  • การตัดต่อและเรนเดอร์ผลงาน
    • การนำภาพ Sequence ที่เรนเดอร์จากมายามาตกแต่งรายละเอียด
    • การนำภาพ Sequence ที่ตกแต่งรายละเอียดแล้วมาตัดต่อ
    • เรนเดอร์ผลงานชิ้นสุดท้าย